วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

Transient global amnesia



ลักษณะอาการผิดปกติ

            เป็นกลุ่มอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีอาการสูญ เสียความจำอย่างเฉียบพลัน จะสูญเสียความจำแบบไปข้างหน้าเป็นหลัก (Anterograde amne sia) คือไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นช่วงเกิดกลุ่มอาการได้ ร่วมกับการสูญเสียความจำแบบย้อนหลัง (Retrograde amnesia) คือลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเกิดกลุ่มอาการนี้ไม่นาน เช่น ไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะเริ่มมีอาการครั้งนี้ประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นต้น และมักจะเรียกชื่อคนไม่ถูกจึงทำให้เกิดความกังวลอย่างมาก ผู้ป่วยจึงมักถามซ้ำๆว่า มาทำอะไร ใครเป็นใคร อยู่ที่ไหน วันนี้วันอะไร และเมื่อบอกไปแล้วก็ยังจำไม่ได้ จึงถามซ้ำ แต่จะไม่สูญเสียความจำส่วนที่เกิดขึ้นมานานแล้ว (Remote memory) และพฤติกรรม ความรู้ ความสามารถอื่นๆ ปกติดี บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย อาการดังกล่าวจะเป็นอยู่ชั่วคราวไม่นานมากกว่า 4 - 6 ชั่วโมงและจะหายดีภายใน 24 ชั่วโมง และเมื่อหายดีก็จะจำเหตุการณ์ต่างๆได้ทั้งหมด แต่ก็ยังอาจจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นช่วงเกิดอาการไม่ได้สมบูรณ์อาการนี้จะพบได้น้อยมากๆ อย่างเช่นในสหรัฐฯ เอง มีการตรวจพบอาการนี้ใน 100,000 คน จะเจอเพียง 5 คนเท่านั้น

 แนวทางการรักษา

            การรักษากลุ่มอาการลืมชั่วคราว TGA ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาอะไรเพราะอาการต่างๆหายเองได้ และส่วนใหญ่หายเป็นปกติไม่มีความผิดปกติเหลืออยู่ จึงมีการพยากรณ์โรคที่ดีและมักไม่เกิดเป็นซ้ำ  ไม่มีความจำเป็นในการรักษาระยะยาว

ป้องกันกลุ่มอาการลืมชั่วคราว

            การป้องกันกลุ่มอาการลืมชั่วคราวยังไม่มีการศึกษาระบุถึงวิธีที่ได้ผลชัดเจน แต่จากกลไกการเกิดโรค/กลุ่มอาการนี้พบว่า การหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆเหล่านี้คือ ความเครียด, การใช้ยานอนหลับ และการดื่มแอลกอฮอล์หนัก จะป้องกันได้ระดับหนึ่ง

การดูแลตนเองเมื่อมีกลุ่มอาการลืมชั่วคราว

            เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้เพราะจำอะไรไม่ได้ ผู้ที่พบเห็นควรพาผู้ป่วยพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล และคอยพูดคุยให้กำลังใจ อธิบายสิ่งต่างๆให้ผู้ป่วยฟัง ไม่เบื่อหน่ายและตกใจเพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีความกังวลใจมากยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

EASILY answer



จิตอาสา ทำง่ายๆ


คำว่า  จิตอาสา  เพียงแค่เรามีใจที่อยากจะ "อาสา"ทำสิ่งต่างๆในสังคมให้ดีขึ้น นั่นก็นับเป็นการทำจิตอาสาเพื่อส่วนรวมเช่นกัน โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่วุ่นวายและเร่งรีบ การยืนมือเข้าไปช่วยผู้คนที่กำลังลำบากอยู่ ถือเป็นไมตรีเล็กๆน้อยๆที่ส้รางความประทับใจให้กับคนหลายคน 

สำหรับกิจกรรมจิตอาสาที่นักเรียนไปทำมานั้น เป็นกิจกรรมเล็กๆ ที่ไม่ได้พึ่งองค์กรใด ทำในสถานที่ๆใกล้กับโรงเรียน แต่มีความเงียบสงบและน่าอิ่มเอม จนลืมไปเลยว่าสถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย


วันที่ทำกิจกรรม : 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559





สถานที่ : วัดปทุมวนาราม 
( สาเหตุที่เลือกสถานที่นี้เพราะมีความใกล้โรงเรียน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางแสงสี การเดินทางสะดวก )


กิจกรรม :

กวาดใบไม้และขยะที่อยู่ในบริเวณพระพุทธรูป 









ข้อคิดที่ได้รับจากกิจกรรมนี้

  1. การทำจิตอาสาทำให้สถานที่ๆเราไปทำเกิดความเรียบร้อยมากขึ้น เช่น การกวาดขยะ การเก็บขยะแถวริมคลอง จะช่วยให้ทัศนียภาพของสถานที่สวยงามขึ้น
  2. การทำกิจกรรมจิตอาสา ทำให้เรารับรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในสังคมมากขึ้น ได้รู้ว่าอะไรควรทำตอนไหน แบ่งเวลาได้ดีมากขึ้น
  3. การทำจิตอาสาเป็นการทำความดีอย่างหนึ่ง ทำให้จิตใจสงบ และรู้จักการให้ ไม่เพียงแต่ได้รู้จักทำว่า ให้ แต่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง การให้ จึงยิ่งใหญ่มากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง  

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

WHAT IS "PUBLIC MIND" ?





What is public mind? 

 ความหมายของจิตอาสา?



(อ้างอิง http://travel.cnn.com/bangkok/visit/price-volunteering-thailand-231682/ )


                  จิตอาสา  หรือ  จิตสาธารณะ (public consciousness หรือ  Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ่งที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล  และ บำรุงรักษาร่วมกัน 


                 จิตอาสา  หรือ  มีจิตสาธารณะ” ยังหมายรวมถึง  จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้ความสว่างตามถนนหนทาง  แม้แต่การประหยัดน้ำ ประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษา ให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม 



(อ้างอิง : http://www.projects-abroad.ca/projects/1-and-2-week-trips/ )


                 ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน 
                 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อ ประเทศชาติ มี ความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ 



( อ้างอิง : http://youthproaktiv.org/wp-content/uploads/2014/10/volunteerting.jpg )


                 สรุป จิตอาสา หรือจิตสาธารณะ  หรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ  จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง 
                 ส่วน คำว่า สาธารณะ (Public) เป็น การแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม


ที่มา : http://www.nitade.lpru.ac.th/2012/html/news9.html